การยึดครองไซ่ง่อนของฝ่ายพันธมิตร (กุมภาพันธ์ 1859-กุมภาพันธ์ 1860) ของ การปิดล้อมไซ่ง่อน

ป้องปราการแห่งไซ่ง่อนมีขนาดใหญ่มาก ฝ่ายพันธมิตรมีคนไม่พอที่จะวางกำลังคุ้มกันป้อมได้อย่างเพียงพอ ริโก เดอ เยนูลีจึงตัดสินใจที่จะทำลายมันทิ้ง มีการเตรียมระเบิดไว้ 32 ลูก และในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1859 ป้อมปราการก็ถูกทำลาย ห้องเก็บข้าวยังถูกเผาอีกด้วย ส่งผลให้เกิดการเผาไหม้ไปหลายเดือน[12]

ในเดือนเมษายน ปี 1859 ริโก เดอ เยนูลีก็กลับไปเมืองทูฮานพร้อมกองกำลังส่วนหนึ่ง โดยทิ้งทหารจำนวนน้อยไว้ภายใต้การบังคับบัญชาของนาวาโทเบอร์นาร์ด ฌองกีเบรีเพื่อเฝ้าเมืองไซ่ง่อนไว้ กองกำลังของฌองกีเบรีประกอบไปด้วยทหารราบนาวิกโยธินฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งกองร้อย, ทหารราบเบาชาวฟิลิปปินส์ภายใต้การสั่งการของสเปนจำนวนหนึ่งกองร้อย และกะลาสี 400 คนที่มีหน้าที่เป็นพลปืนของกองเรือฝรั่งเศส ริโกยังเดินทางกลับไปไซ่ง่อนพร้อมกับเรือคอร์เวตพริโมเกต์, เรือปืนอาวาลอนช์และดรากอน และเรือขนส่งดูฮองซ์ ฝ่ายฝรั่งเศสซ่อมแซมป้อมทางใต้ ที่ยึดมาจากฝ่ายเวียดนามในเดือนกุมภาพันธ์ แล้วดัดแปลงมันให้เป็นที่มั่นของกองประจำการ[13]

ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1859 ฌองกีเบรีโจมตีป้อมปราการที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองอย่างไม่ทันตั้งตัว ฝ่ายพันธมิตรโจมตีได้สำเร็จ ทำให้ที่ตั้งของฝ่ายเวียดนามถูกเผาลงมา แต่ฝ่ายพันธมิตรมีผู้บาดเจ็บถึง 31 นาย และมีผู้เสียชีวิตถึง 14 นายจากจำนวนทหารที่ต่อสู้ทั้งหมด 800 นาย ซึ่งถือว่าเสียหายมาก เนื่องด้วยปริมาณกำลังที่น้อย จึงทำให้ฌองกีเบรีไม่โจมตีต่อ กองทหารฝรั่งเศส-สเปนประจำเมืองไซ่ง่อนจึงถอนกำลังไปจากป้อมทางทิศใต้และรอคอยเวลา[14]

ใกล้เคียง

การปิดล้อม (ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน) การปิดกั้นเบอร์ลิน การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี พ.ศ. 2560 การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556 การปิดล้อมไซ่ง่อน การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปิดประเทศอินเดียเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดเมืองอู่ฮั่นเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดสถานี การปิดอิตาลี พ.ศ. 2563